เกี่ยวกับเรา
ฝ่ายบริการลูกค้า
นโยบายและการรักษาข้อมูล
การเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
........ขณะที่กระแสไฟฟ้าไหลไปตามลวดตัวนำในสายไฟที่มีความต้านทานไฟฟ้ามากอาจทำให้มีความร้อนเกิดขึ้นภายในสายไฟ ความร้อนจะมีผลทำให้ฉนวนหุ้มลวดตัวนำเกิดการอ่อนตัวหลอมเหลวหรือเสอมคุณภาพได้ ซึ่ง อาจจะทำให้ลวดตัวนำในสายไฟสัมผัสกันและเกิดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นได้
วงจรลัด ( Shot circuit )
........เกิดจากวงจรไฟฟ้ามีความผิดปกติ เนื่องจากลวดตัวนำไฟฟ้าสัมผัสกันจากฉนวนหุ้มสายไฟชำรุด ทำให้กระแสไฟฟ้าไม่ไหลไปตามลวดตัวนำในสายๆไฟตามปกติ แต่กระแสไฟฟ้าเกือบทั้งหมดจะไหลผ่านบริเวณจุดที่ลวดตัวนำสัมผัสกันหรือจุดที่เกิดวงจรลัดทำให้ที่บริเวณดังกล่าวมีพลังงานไฟฟ้า
เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้
สาเหตุที่ทำให้กระแสไฟฟ้าเกิดการลัดวงจรภายในบ้าน มีหลายสาเหตุด้วยกัน
1. สายไฟที่ใช้ในบ้านหมดอายุการใช้งาน ทำให้ฉนวนหุ้มเปลือยขาดจนลวดตัวนำภายในเส้น สายไฟเกิดการสัมผัสกัน
2 .มีตัวนำไฟฟ้าวางพาดบนสายไฟที่ไม่มีฉนวนหุ้ม หรือเป็นสายเปลือยทั้งสองสายทำให้กระแสไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานความร้อน
3. ส่วนประอบภายในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด ขณะเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดขัดข้อง หรือชำรุด กระแสไฟฟ้าเกิดความผิดปกติ
4. การต่อสายไฟเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ถูกต้อง เมื่อสายไฟรวมทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆผิดขนาด ต่อเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้า
........สายไฟส่วนใหญ่ที่ไม่ฉนวนหุ้มนั้น ถ้าไม่สัมผัสหรือไม่มีตัวนำไปเชื่อมต่อระหว่างทั้งสองสายจะไม่เกิดไฟฟ้าลัดวงจร แต่ถ้าตัวเราไปสัมผัสที่ลวดตัวนำในสายไฟนั้นจะเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วซึ่งเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าสู่ร่างกายลงสู่พื้นดินก็อาจทำให้ถึงเสียชีวิตได้ โดยปริมาณกระแสไฟฟ้าที่มีผลต่อร่างกาย
ตารางแสดงปริมาณกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกาย
จำนวนกระแสไฟฟ้า ( มิลลิแอมแปร์) |
อาการหรืออันตรายที่เกิดขึ้นแก่ร่างกาย |
น้อยกว่า 0.5 0.5 – 2 2 – 10 5 – 25 มากกว่า 25 50 – 100 มากกว่า 100 |
ยังไม่รู้สึก รู้สึกกระตุกเล็กน้อย กล้ามเนื้อหด กระตุกปานกลางถึงรุนแรง เจ็บปวด กล้ามเนื้อเกร็งไม่สามารถปล่อยให้หลุดออกมาได้ กล้ามเนื้อเกร็ง กระตุกรุนแรง หัวใจเต้นผิดปกติ ( เต้นอ่อนหอเต้นระรัว) เสียชีวิต หยุดหายใจ ผิวหนังไหม้ |
ตารางแสดงปริมาณกระแสไฟฟ้าซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ถ้าได้รับเกินระยะเวลาที่กำหนด
จำนวนกระแสไฟฟ้า ( มิลลิแอมแปร์) |
ระยะเวลา ( วินาที) |
15 20 30 100 500 1,000 |
120 60 30 3 11/100 1/100 |
........การที่นกเกาะสายไฟแรงสูงที่ไม่มีฉนวนหุ้ม โดยไม่ได้รับอันตราย เนื่องจากเท้านกมีลักษณะเป็นเซลล์ที่แห้ง จึงมีความต้านทานสูง นอกจากนกยังเกาะเพียงเส้นเดียวไม่สามารถเกาะสายไฟทั้งสองเส้นพร้อมกันได้ และตัวนกไม่ได้ติดต่อกับพื้นดินทำให้ไฟรั่วขึ้น นกจึงไม่ถูกดูดตาย
........เราสามารถตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้ารั่วได้จากการใช้ไขควงเตะส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้า และใช้นิ้วที่ด้ามจับไขควงนิ้วใดนิ้วหนึ่ง ถ้ามีไฟรั่วหลอดไฟที่ด้านไขควงจะมีแสงสว่าง โดยปกติสภาพร่างกายแต่ละส่วนของเราจะมีความต้ายทานกระแสไฟฟ้ามากน้อยไม่เท่ากัน
ตารางแสดงความต้านทานของกระแสไฟฟ้าของส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ส่วนของร่างกาย |
ความต้านทาน |
ผิวหนังแห้ง ผิวหนังเปียกชื้น ภายในร่างกาย-มือถึงเท้า หูถึงหู |
100,000/600,000 800-1,000 400-600 100 |
ที่มาและภาพประกอบ:http://www.mmv.ac.th/supphapong/sci%20911.htm
ภาพประกอบ:http://www.haaksquare.com/sites/default/files/content/1701/image/1.jpg
แปลและเรียบเรียงบทความโดยCopyright:http://www.mmv.ac.th/supphapong/sci%20911.htm